ประกันภาคสมัครใจมีกี่ประเภท



 
 
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ 
 
กรมธรรม์ประเภท 1
ให้ความคุ้มครองมากที่สุด ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก 
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย 
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย 
***ในกรณีได้รับส่วนลดประวัติดี สามารถรับส่วนลดโดยมีหลักฐานประวัติดีแสดงต่อเจ้าหน้าที่รับประกัน 
 
กรมธรรม์ประเภท 2
ให้ความคุ้มครองรองลงมาจากประเภทที่ 1 
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก 
ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย 
 
กรมธรรม์ประเภท 3
ให้ความคุ้มครองเฉพาะบุคคลภายนอก 
ความรับผิดต่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก  


กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองเฉพาะภัย แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้ 

แบบประกัน 2 (2+) ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
กรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้ 
  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ 
  • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 
  • คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก 
  • คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย  
แบบประกัน 3 (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
กรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้ 
  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ 
  • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 
  • คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก 
 
การประกันภัยรถยนต์ คือการประกันความเสียหายอันเกิดจาก การใช้รถยนต์

1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หมายความถึงการประกัน ภัยรถยนต์ที่ถูกบังคับโดยกฏหมาย เพื่อความคุ้มครองต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกายบุคคล
ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฏหมายที่เรียกว่า″พระราชบัญญัติ” คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ( พ.ร.บ.) เพื่อให้ประชาชน ผู้ประสบภัย
ได้รับความคุ้มครอง และการชดใช้ค่าเสียหายที่แน่นอน รวดเร็ว และเป็นธรรม จึงได้กำหนดให้มีพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2536 
2. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หมายความถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้น โดยความสมัครใจของ เจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์หรือผู้ขับขี่รถยนต์
โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับ โดยกฏหมาย แต่อย่างใด การประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในตลาดประกันภัยในปัจจุบันนี้เป็นการ ประกันภัยในภาคสมัครใจ 
 
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบใหม่ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. กรมธรรม์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ (UN-Named Driver) เป็นกรมธรรม์แบบเดิมที่คุ้มครองผู้ขับขี่คนใดก็ได้ที่ผู้เอาประกันภัย ยินยอมให้ขับขี่เสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย
2. กรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ (Named Driver) เป็นกรมธรรม์แบบใหม่ที่นำเอาอายุผู้ขับขี่มาเป็นองค์ประกอบในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย และคุ้มครองแต่ผู้เอาประกันภัย
ต้องร่วมรับผิดต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้นของอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วยกรมธรรม์แบบนี้ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ใช้รถส่วนบุคคล และสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ ไม่เกิน 2 คน